ครู "เพศที่สาม" ต้นแบบของสังคมที่เคารพความแตกต่างหลากหลาย
views :  1824
image issue
ครู "เพศที่สาม" ต้นแบบของสังคมที่เคารพความแตกต่างหลากหลาย
โดย ไพศาล ลิขิตปรีชากุล โครงการจัดตั้งมูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ

ทำไมถึงมี "เพศที่สาม"
คนส่วนใหญ่จำนวนมากมี ?อัตลักษณ์ทางเพศ?(ความรู้สึกส่วนลึกภายในว่าตนเองเป็นเพศหญิงชายหรืออื่นใด)ที่ตรงกับลักษณะเพศตามร่างกายของตน แต่ในสังคมและวัฒนธรรมมากมายในทุกยุคสมัย ยังมีประชากรส่วนน้อยส่วนหนึ่งที่มีความรู้สึกส่วนลึกภายในไม่ตรงกับเพศตามร่างกายของตน ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะความหลากหลายตามธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ ที่มีความแตกต่างกันในทุกๆ เรื่อง รวมถึงรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ ความแข็งแรง บุคลิกนิสัย สติปัญญา ฯลฯ

หากจะถามว่า ทำไมคนส่วนน้อยนี้จึงมีความรู้สึกส่วนลึกไม่ตรงกับเพศตามร่างกาย ก็อาจจะต้องนึกย้อนถามว่า ทำไมเราจึงมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นหญิงหรือเป็นชาย ความรู้สึกนี้มาจากที่ใด เช่น หากลองสมมติว่าเราเป็นอัมพาตตั้งแต่คอลงไป ทั้งตัว เราจะยังมีความรู้สึกเหลืออยู่หรือไม่ว่าตนเองเป็นเพศใด

ความรู้สึกว่าตนเองเป็นเพศใดนี้เป็นพัฒนาการด้านจิตใจที่เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากเพศตามร่างกาย จึงย่อมไม่เป็นเรื่องแปลกที่คนจำนวนหนึ่งจะมีความรู้สึกส่วนลึกไม่ตรงกับร่างกาย เป็นความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติเฉพาะตน ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เชื่อว่า ความรู้สึกนี้ก่อตัวขึ้นชัดเจนอยู่ภายในจิตใจของเด็กแล้วตั้งแต่อายุยังน้อย โดยมีปัจจัยทางชีววิทยา เช่นพันธุกรรม ระดับฮอร์โมนที่ได้รับตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา รวมไปถึงสิ่งกระตุ้นภายนอกในช่วงเป็นทารกหลังคลอดไม่นานนัก

มนุษย์เราให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับตัวตนและการปรับปรุงตนเองทั้งภายนอกและภายในเพื่อให้มีความสุข การปรับเปลี่ยนเช่นนี้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ความสำคัญที่มนุษย์ให้ต่อลักษณะภายนอกจะเห็นได้จากการออกกำลังกาย ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก เครื่องสำอาง หรือศัลยกรรมต่างๆ  อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าเสียดายว่า สังคมยังไม่ให้การยอมรับอย่างเต็มที่ต่อการปรับเปลี่ยนร่างกายของผู้ที่รูปลักษณ์ภายนอกไม่ตรงกับความรู้สึกความเป็นตัวตนภายใน

ครู "เพศที่สาม" มีความเหมาะสมที่จะเป็นครูได้หรือไม่
คุณค่าของความเป็นครูน่าจะอยู่ที่ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ และเป็นแบบอย่างความประพฤติให้กับนักเรียน ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นครูผู้หญิง ผู้ชาย หรือเพศใด

ในต่างประเทศก็มีการถกเถียงกันว่า ครูที่แปลงเพศสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนได้หรือไม่ แม้จะเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์และมีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในตอนแรก แต่ในที่สุดครูเหล่านี้ก็ได้รับการตัดสินว่ามีความเหมาะสมที่จะเป็นครูต่อไป ตัวอย่างเช่นในกรณีของคุณครูแม็คเบ็ธที่เปลี่ยนจากชายเป็นหญิง และนักเรียนคนหนึ่งให้ความเห็นว่า ?หนูไม่เห็นว่าเรื่องนี้จะเป็นปัญหาอะไรจริงๆ เพราะเค้าเป็นครูที่มีความสามารถและหนูไม่เห็นว่าข้อนี้จะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไปได้?[1] หรือในกรณีคุณครูเว็บสเตอร์ที่เปลี่ยนจากหญิงเป็นชาย และครูใหญ่ให้การสนับสนุนเต็มที่ ถึงขนาดเขียนจดหมายแจ้งให้นักเรียนและผู้ปกครองทราบ

แม้ว่าจะมีผู้ปกครองส่วนน้อยต่อต้าน แต่ผู้ปกครองส่วนใหญ่เห็นว่า อัตลักษณ์ทางเพศของคุณครูทั้งสองนี้มีผลในทางบวกต่อชีวิตลูกๆ ของตน โดยเป็นต้นแบบเพื่อสร้างความเข้าใจและการยอมรับต่อความหลากหลาย ผู้ปกครองคนหนึ่งกล่าวว่า ?แทนที่จะเอาลูกไปเรียนห้องเรียนอื่น นี่เป็นโอกาสดีที่สุดให้พ่อแม่ได้สอนลูกเกี่ยวกับความแตกต่างหลากหลาย โลกนี้เต็มไปด้วยผู้คนและความเชื่อที่เราทุกคนคงไม่เห็นด้วยไปเสียทั้งหมด เราไม่อาจสอนลูกว่าถ้าไม่ชอบก็ไปที่อื่น แต่เราต้องสอนลูกว่าไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความเชื่อคนอื่นแต่ต้องเคารพความเชื่อของเค้า นี่คือสิ่งที่ทำให้ประเทศนี้เป็นประเทศที่ดี?
อ่านต่อทั้งหมดได้ที่ : http://www.thaitga.com/index.php/library/articles/176-lgbt-teachers

ขอบพระคุณบทความและภาพประกอบ : www.thaitga.com
ที่มา :  www.thaitga.com ดู hotIssue ทั้งหมด
*** กรุณา Login ก่อนจึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้นะจ๊ะ ***